กาฬโรค
(The Black Death)
กาฬโรค เริ่มต้นเมื่อ ค.ศ.1347 เป็นสิ่งที่คร่าชีวิตของชาวยุโรปไปจำนวนหลายล้านคน ทั้งยังส่งผลต่อศาสนา เศรษฐกิจ และวัฒนธรรมเป็นอย่างมากในยุโรป ซึ่งนับว่าเป็นโรคระบาดที่ร้ายแรงที่สุดในยุคสมัยกลาง
การแพร่ของกาฬโรคนั้นรวดเร็วอย่างมากในยุคสมัยกลางด้วยปัจจัยหลายๆ อย่างที่ทำให้ผู้คนไม่สามารถควบคุมการระบาดของกาฬโรคได้ อีกทั้งการศึกษา การแพทย์ และอุปกรณ์ป้องกันในยุคสมัยนั้นยังไม่ก้าวหน้ามากพอจะรักษาหรือป้องกันโรคได้ ทำให้กว่าจะมีการคิดค้นการรักษากาฬโรคนั้นต้องใช้เวลาหลายร้อยปี ในการลองผิดลองถูก เปรียบเทียบกับยุคปัจจุบันที่มีการระบาดของโควิด-19 นั้นการแพทย์และเทคโนโลยีในปัจจุบันใช้เวลาไม่ถึงปีในการคิดวัคซีนขึ้นมาได้
ซึ่งภายหลังก็ยังคงมีการระบาดซ้ำอยู่เป็นครั้งคราวจนถึงปัจจุบัน
ที่มารูปภาพ : https://www.matichon.co.th/prachachuen/news_1967001
ต้นกำเนิดของกาฬโรค เชื่อว่ามาจากจีนแพร่ผ่านเส้นทางสายไหมและมาจากหมัดของหนู เมื่อหนูที่ถูกหมัดกัดตายไป ศพของหนูก็กลายเป็นตัวแพร่กระจายของกาฬโรค และหมัดของหนูสามารถกระโดดไปยังสัตว์อื่นๆ หรือกัดคนได้
อาการของกาฬโรคที่สังเกตได้ง่ายที่สุดคือผิวบวม มีจุดสีแดงและเปลี่ยนเป็นสีดำตามร่างกายเนื่องจากการที่มีเลือดออกบริเวณใต้ผิวหนัง ปอดบวมตามร่างกาย และเป็นไข้ ซึ่งกาฬโรคสามารถทำให้คนเสียชีวิตได้ ระยะเวลาขึ้นอยู่กับภูมิคุ้มกันโรค และความแข็งแรงร่างกายของแต่ละบุคคล ถ้าร่างกายอ่อนแอก็สามารถตายได้ภายใน 3 วัน ถ้าหากร่างกายแข็งแรงก็สามารถตายได้ภายในหนึ่งสัปดาห์
การแพร่ระบาดของกาฬโรค ส่วนหนึ่งเริ่มต้นมาจากการที่ชาวมองโกลได้มีทหารที่ตายจากการติดเชื้อและนำศพของคนที่ตายโยนเข้าเมืองท่าด้วยเครื่องยิงหิน โรคระบาดแพร่กระจายเข้าสู่เมืองท่าอย่างรวดเร็ว คนในเมืองต่างหนีตายขึ้นเรือไปยังยุโรป โดยนำโรคติดไปด้วย พร้อมกับพาหะอย่างหนูและคนที่ติดโรคอยู่บนเรือ เมื่อไปถึงทุกคนบนเรือนั้นก็ได้ติดเชื้อตายกันหมดแล้ว การหลบหนีเข้ายุโรปครั้งนี้จึงเป็นการนำกาฬโรคเข้าแพร่กระจายสู่ยุโรป
หนูเป็นพาหะของกาฬโรคอย่างดี โดยหมัดของหนูสามารถแพร่เชื้อได้ด้วยการกัดคนหรือสัตว์ชนิดต่างๆ อีกทั้งหนูยังสามารถติดไปตามคาราวานของพ่อค้า และเรือบรรทุกสินค้า นอกจากนั้นกาฬโรคยังสามารถติดต่อผ่านลมหายใจได้อีกด้วย ทำให้กาฬโรคแพร่ระบาดได้อย่างรวดเร็ว และยากที่จะควบคุมได้
ผลกระทบของกาฬโรค
- เศรษฐกิจหยุดชะงัก ขาดแรงงาน เพราะต้องควบคุมโรค
- งดกิจกรรมทางวัฒนธรรมเพื่อป้องกันการแพร่ระบาด
- สังคม ผู้คนล้มตายเป็นจำนวนมาก ประชาชนอดอยาก
- ศาสนจักรเสื่อมอำนาจ
หมอในยุคสมัยกลางสวมชุดคลุมหน้ากากอีกาใช้ไม้ยาวช่วยในการรักษา เนื่องจากไม่สามารถสัมผัสผู้ป่วยได้ ช่วงนั้นการแพทย์ยังไม่ก้าวหน้ามากนักการรักษาจึงเป็นการลองผิดลองถูก ยกตัวอย่างเช่น
- อาบน้ำปัสสาวะ
- นำอุจจาระมาทาตัว
- วางซากสัตว์ในบ้าน
- นำปลิงมาดูดเลือด
- ดื่มทองที่ถูกทำให้เหลว และผงมรกต
- ใช้เครื่องหอม สมุนไพร ดับกลิ่นคนตาย
ถึงแม้ว่าในปัจจุบันจะมีวิธีการรักษาให้หายได้แล้ว แต่ในกาฬโรคก็ยังคงมีอยู่ แต่ก็ไม่ร้ายแรงเท่าในยุคสมัยกลางแล้วเนื่องจากมีมาตรการในการรับมือ การเฝ้าระวัง และการแพทย์ที่ดีมากขึ้น ซึ่งสิ่งที่สำคัญที่สุดคือการศึกษา เทคโนโลยีที่พัฒนาไปอย่างรวดเร็ว รวมไปถึงการที่มนุษย์เรียนรู้ที่จะประวัติศาสตร์ ศึกษาสิ่งที่เคยเกิดขึ้นมาก่อนและนำมาประยุกต์ใช้ในการรับมือกับการระบาดครั้งต่อๆไป ทำให้มนุษย์สามารถรับมือกับโรคที่ร้ายแรงได้ดีมากยิ่งขึ้น
อ้างอิง
- Muzika. (2563). กำเนิดกาฬโรค The Black Death โรคระบาดที่ร้ายแรงที่สุดของมนุษยชาติ. สืบค้น 5 กันยายน 2565. จาก https://travel.trueid.net/detail/6Dpxv0vqBGkD.
- ALLWELLHEALTHCARE. (2563). กาฬโรค หรือ Black death โรคระบาดร้ายแรงในอดีตที่ต้องเฝ้าระวัง!. สืบค้น 5 กันยายน 2565. จาก https://allwellhealthcare.com/black-death/.
- Matichon. (2563). สุวรรณภูมิในอาเซียน : BLACK DEATH ความตายสีดำ ‘โรคห่า’ กาฬโรค จากจีนถึงไทย กำเนิดอยุธยา โยงประวัติศาสตร์โลก. สืบค้น 5 กันยายน 2565. https://www.matichon.co.th/prachachuen/news_1967001
- กาฬมรณะ. (2564). In Wikipedia. https://th.wikipedia.org/wiki/กาฬมรณะ.
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น