วันจันทร์ที่ 26 กันยายน พ.ศ. 2565

ศิลปะลัทธิโฟวิสม์ (Fauvism) - อารยธรรมสมัยใหม่

ศิลปะลัทธิโฟวิสม์ (Fauvism)
อารยธรรมสมัยใหม่

        ในอารยธรรมยุคสมัยใหม่ ด้วยความเจริญก้าวหน้าของวิทยาการต่างๆ มีการค้นพบทฤษฎีใหม่ๆ ความก้าวหน้าของสิ่งพิมพ์ ความรู้ถูกบรรจุลงสิ่งพิมพ์และถูกเผยแพร่ได้อย่างรวดเร็วกว่าสมัยก่อน และผู้คนได้ให้ความสำคัญกับความสามารถในตัวบุคคลมากขึ้น            
        ซึ่งมีอิทธิพลมาจากลัทธิเสรีนิยม ที่มีความเชื่อ ยอมรับ และต้องการให้ผู้คนมีเสรีภาพในการแสดงความคิดเห็น ความชอบ และการหาความสุขของแต่ละบุคคล  ทำให้คนในยุคสมัยใหม่กล้าที่จะแสดงความคิดเห็น กล้าแสดงออกในความชอบของตนเอง 
       ผู้คนที่มีความชอบเดียวกันรวมกลุ่มกันเพื่อพูดคุยปรึกษาในสิ่งที่มีความสนใจร่วมกันสร้างลัทธิขึ้นมา จนเกิดเป็นลัทธิต่างๆมากมายในยุคสมัยใหม่ รวมไปทั้ง "ลัทธิโฟวิสม์(Fauvism)" ในวงการศิลปะด้วยเช่นกัน 






                                         ที่มารูปภาพ : https://kku.world/7jr2m


        ศิลปะลัทธิโฟวิสม์(Fauvism) เกิดขึ้นในยุคสมัยใหม่ช่วงต้นๆของคริสตวรรษที่ 20 ประมาณปีค.ศ. 1905 และอยู่ไปจนถึงปีค.ศ. 1910 จากนั้นก็เริ่มหายไป เป็นที่นิยมแค่ในฝรั่งเศส จุดเด่นของโฟวิสม์คือ การใช้สีสันสดใส รุนแรง สนุกสนาน จัดจ้าน มีการตัดเส้นชัดเจน แม้จะใช้สีตัดกันแต่ก็ดูสัมพันธ์กัน ส่งเสริมกันและกัน 

        ลัทธิโฟวิสม์ มีความเชื่อว่าไม่ควรที่จะต้องกังวลว่าภาพเขียนนั้นจะเหมือนสิ่งที่เคยเห็นหรือไม่ ดูตามรู้สึกมากกว่าตาเห็นดีกว่า วาดภาพเขียนแสดงออกตามอสัญชาตญาณ ตามอารมณ์ที่รู้สึกอย่างเต็มที่ นับเป็นการฉีกกฏเกณฑ์เก่าๆที่เคยมีมา ลัทธิโฟวิสม์มีบุคคลสำคัญดังนี้ 

                 อ็องเดร แดแรน                        มอริส เดอ ฟลามิงก์                            อ็องรี มาติส
               (André Derain)                  (Maurice de Vlaminck)                  (Henri Matisse)
 
                    
              ที่มารูปภาพ : https://kku.world/e4y8a                ที่มารูปภาพ : https://kku.world/nqs4g                     ที่มารูปภาพ : https://kku.world/eqa26

        อ็องเดร แดแรน(André Derain) ศิลปินชาวฝรั่งเศส ผู้ร่วมก่อตั้งลัทธิโฟวิสม์กับอ็องรี มาติส (Henri Matisse) เกิดและเสียชีวิตเมื่อ 10 มิถุนายน 1880 - 8 กันยายน 1954 ตัวอย่างผลงาน เช่น  Boats at Collioure (1905), Portrait of Matisse (1905) และ Charing Cross Bridge (1906)

        
  ที่มารูปภาพ :  https://kku.world/joowv         ที่มารูปภาพ : https://kku.world/b5so9           ที่มารูปภาพ : https://kku.world/7y0dx

        มอริส เดอ ฟลามิงก์(Maurice de Vlaminck) จิตรกรชาวฝรั่งเศส เกิดและเสียชีวิตเมื่อ 4 เมษายน 1876 – 11 ตุลาตม 1958 เป็นบุคคลสำคัญร่วมกับอ็องรี มาติส และอ็องเดร แดแรน ตัวอย่างผลงาน เช่น Barges on the Seine(1905) , Le bassin à Chatou(1907) และ Town on the Bank of a Lake(1909)

 
              ที่มารูปภาพ : https://kku.world/hnr5e                 ที่มารูปภาพ : https://kku.world/l6f9d                   ที่มารูปภาพ : https://kku.world/5xfye

        อ็องรี มาติส(Henri Matisse) เป็นจิตรกร ประติมากร และช่างพิมพ์ ชาวฝรั่งเศส เป็นหัวหน้าลัทธิโฟวิสม์ เกิดและเสียชัวิตเมื่อ 31 ธันวาคม 1869 - 3 พฤศจิกายน 1954 ตัวอย่างผลงาน เช่น Portrait of Madame Matisse. The Green Line(1905, )The Dessert: Harmony in Red(1908) และ Dance(1910)


 ที่มารูปภาพ : https://kku.world/7jr2m           ที่มารูปภาพ :  https://kku.world/gqgzu                           ที่มารูปภาพ :  https://kku.world/p3u1o

        ลัทธิโฟวิสม์นับเป็นการวาดภาพที่สร้างความแตกต่างจากกรอบความคิดเดิมๆ เป็นอย่างมาก ในเรื่องของการใช้สีที่จัดจ้าน แสดงอารมณ์ผ่านสีที่ใช้ นำสีที่เป็นขั้วตรงข้ามอย่างสีโทนเย็นกับสีโทนร้อนมาไว้คู่กัน ซึ่งทำให้ผู้คนสนใจตื่นเต้นกับความแปลกใหม่ในงานศิลปะของลัทธิโฟวิสม์ และยังเป็นแรงบันดาลใจที่ทำให้หลายๆ คนอยากที่จะลองและกล้าที่จะทำอะไรใหม่ๆ มากขึ้น


อ้างอิง
  • Phohuk Lover. (2559). ศิลปะแบบโฟวิสม์ (Fauvism Art) หรือ ลัทธิสัตว์ป่า. สืบค้น 26 กันยายน 2565, จาก https://www.facebook.com/media/set/set=a.1151409981587197.1073741886.557879734273561&type=3.
  • hmong. (ม.ป.ป.). André Derain. สืบค้น 26 กันยายน 2565, จาก https://hmong.in.th/wiki/Andr%C3%A9_Derain.
  • hmong. (ม.ป.ป.). มอริซ เดอ วลามิงค์. สืบค้น 26 กันยายน 2565, จาก https://hmong.in.th/wiki/Maurice_de_Vlaminck
  • André Derain. (2565). In Wikipedia. https://en.wikipedia.org/wiki/Andr%C3%A9_ Derain
  • Fauvism. (2565). In Wikipedia. https://en.wikipedia.org/wiki/Fauvism.
  • คติโฟวิสต์. (2565). In Wikipedia. https://th.wikipedia.org/wiki/คติโฟวิสต์.
  • Henri Matisse. (2565). In Wikipedia. https://en.wikipedia.org/wiki/Henri_Matisse

















วันจันทร์ที่ 5 กันยายน พ.ศ. 2565

กาฬโรค (The Black Death)

 กาฬโรค 
(The Black Death)


    กาฬโรค เริ่มต้นเมื่อ ค.ศ.1347 เป็นสิ่งที่คร่าชีวิตของชาวยุโรปไปจำนวนหลายล้านคน ทั้งยังส่งผลต่อศาสนา เศรษฐกิจ และวัฒนธรรมเป็นอย่างมากในยุโรป ซึ่งนับว่าเป็นโรคระบาดที่ร้ายแรงที่สุดในยุคสมัยกลาง 
    การแพร่ของกาฬโรคนั้นรวดเร็วอย่างมากในยุคสมัยกลางด้วยปัจจัยหลายๆ อย่างที่ทำให้ผู้คนไม่สามารถควบคุมการระบาดของกาฬโรคได้ อีกทั้งการศึกษา การแพทย์ และอุปกรณ์ป้องกันในยุคสมัยนั้นยังไม่ก้าวหน้ามากพอจะรักษาหรือป้องกันโรคได้ ทำให้กว่าจะมีการคิดค้นการรักษากาฬโรคนั้นต้องใช้เวลาหลายร้อยปี ในการลองผิดลองถูก เปรียบเทียบกับยุคปัจจุบันที่มีการระบาดของโควิด-19 นั้นการแพทย์และเทคโนโลยีในปัจจุบันใช้เวลาไม่ถึงปีในการคิดวัคซีนขึ้นมาได้
    ซึ่งภายหลังก็ยังคงมีการระบาดซ้ำอยู่เป็นครั้งคราวจนถึงปัจจุบัน
    
            ที่มารูปภาพ : https://www.matichon.co.th/prachachuen/news_1967001

           ต้นกำเนิดของกาฬโรค เชื่อว่ามาจากจีนแพร่ผ่านเส้นทางสายไหมและมาจากหมัดของหนู เมื่อหนูที่ถูกหมัดกัดตายไป ศพของหนูก็กลายเป็นตัวแพร่กระจายของกาฬโรค และหมัดของหนูสามารถกระโดดไปยังสัตว์อื่นๆ หรือกัดคนได้



ที่มารูปภาพ : https://th.wikipedia.org/wikiกาฬมรณะ

            อาการของกาฬโรคที่สังเกตได้ง่ายที่สุดคือผิวบวม มีจุดสีแดงและเปลี่ยนเป็นสีดำตามร่างกายเนื่องจากการที่มีเลือดออกบริเวณใต้ผิวหนัง ปอดบวมตามร่างกาย และเป็นไข้ ซึ่งกาฬโรคสามารถทำให้คนเสียชีวิตได้ ระยะเวลาขึ้นอยู่กับภูมิคุ้มกันโรค และความแข็งแรงร่างกายของแต่ละบุคคล ถ้าร่างกายอ่อนแอก็สามารถตายได้ภายใน 3 วัน ถ้าหากร่างกายแข็งแรงก็สามารถตายได้ภายในหนึ่งสัปดาห์

            การแพร่ระบาดของกาฬโรค ส่วนหนึ่งเริ่มต้นมาจากการที่ชาวมองโกลได้มีทหารที่ตายจากการติดเชื้อและนำศพของคนที่ตายโยนเข้าเมืองท่าด้วยเครื่องยิงหิน โรคระบาดแพร่กระจายเข้าสู่เมืองท่าอย่างรวดเร็ว คนในเมืองต่างหนีตายขึ้นเรือไปยังยุโรป โดยนำโรคติดไปด้วย พร้อมกับพาหะอย่างหนูและคนที่ติดโรคอยู่บนเรือ เมื่อไปถึงทุกคนบนเรือนั้นก็ได้ติดเชื้อตายกันหมดแล้ว การหลบหนีเข้ายุโรปครั้งนี้จึงเป็นการนำกาฬโรคเข้าแพร่กระจายสู่ยุโรป

            หนูเป็นพาหะของกาฬโรคอย่างดี โดยหมัดของหนูสามารถแพร่เชื้อได้ด้วยการกัดคนหรือสัตว์ชนิดต่างๆ อีกทั้งหนูยังสามารถติดไปตามคาราวานของพ่อค้า และเรือบรรทุกสินค้า นอกจากนั้นกาฬโรคยังสามารถติดต่อผ่านลมหายใจได้อีกด้วย ทำให้กาฬโรคแพร่ระบาดได้อย่างรวดเร็ว และยากที่จะควบคุมได้

ผลกระทบของกาฬโรค
  • เศรษฐกิจหยุดชะงัก ขาดแรงงาน เพราะต้องควบคุมโรค
  • งดกิจกรรมทางวัฒนธรรมเพื่อป้องกันการแพร่ระบาด
  • สังคม ผู้คนล้มตายเป็นจำนวนมาก ประชาชนอดอยาก 
  • ศาสนจักรเสื่อมอำนาจ
    หมอในยุคสมัยกลางสวมชุดคลุมหน้ากากอีกาใช้ไม้ยาวช่วยในการรักษา เนื่องจากไม่สามารถสัมผัสผู้ป่วยได้ ช่วงนั้นการแพทย์ยังไม่ก้าวหน้ามากนักการรักษาจึงเป็นการลองผิดลองถูก ยกตัวอย่างเช่น
  • อาบน้ำปัสสาวะ
  • นำอุจจาระมาทาตัว
  • วางซากสัตว์ในบ้าน
  • นำปลิงมาดูดเลือด
  • ดื่มทองที่ถูกทำให้เหลว และผงมรกต
  • ใช้เครื่องหอม สมุนไพร ดับกลิ่นคนตาย
         ถึงแม้ว่าในปัจจุบันจะมีวิธีการรักษาให้หายได้แล้ว แต่ในกาฬโรคก็ยังคงมีอยู่ แต่ก็ไม่ร้ายแรงเท่าในยุคสมัยกลางแล้วเนื่องจากมีมาตรการในการรับมือ การเฝ้าระวัง และการแพทย์ที่ดีมากขึ้น ซึ่งสิ่งที่สำคัญที่สุดคือการศึกษา เทคโนโลยีที่พัฒนาไปอย่างรวดเร็ว รวมไปถึงการที่มนุษย์เรียนรู้ที่จะประวัติศาสตร์ ศึกษาสิ่งที่เคยเกิดขึ้นมาก่อนและนำมาประยุกต์ใช้ในการรับมือกับการระบาดครั้งต่อๆไป ทำให้มนุษย์สามารถรับมือกับโรคที่ร้ายแรงได้ดีมากยิ่งขึ้น

อ้างอิง
  • Muzika. (2563). กำเนิดกาฬโรค The Black Death โรคระบาดที่ร้ายแรงที่สุดของมนุษยชาติ. สืบค้น 5 กันยายน 2565. จาก https://travel.trueid.net/detail/6Dpxv0vqBGkD.
  • ALLWELLHEALTHCARE. (2563). กาฬโรค หรือ Black death โรคระบาดร้ายแรงในอดีตที่ต้องเฝ้าระวัง!. สืบค้น 5 กันยายน 2565. จาก https://allwellhealthcare.com/black-death/.
  • Matichon. (2563). สุวรรณภูมิในอาเซียน : BLACK DEATH ความตายสีดำ ‘โรคห่า’ กาฬโรค จากจีนถึงไทย กำเนิดอยุธยา โยงประวัติศาสตร์โลก. สืบค้น 5 กันยายน 2565. https://www.matichon.co.th/prachachuen/news_1967001
  • กาฬมรณะ. (2564‎). In Wikipedia. https://th.wikipedia.org/wiki/กาฬมรณะ.

องค์การสนธิสัญานาโต (NATO) - อารยธรรมสมัยปัจจุบัน

องค์การสนธิสัญญานาโต (NATO) อารยธรรมสมัยปัจจุบัน ที่มารูปภาพ :  https://en.wikipedia.org/wiki/NATO               ในช่วงของปี 1945 - 1991 ได้...