วันจันทร์ที่ 10 ตุลาคม พ.ศ. 2565

องค์การสนธิสัญานาโต (NATO) - อารยธรรมสมัยปัจจุบัน

องค์การสนธิสัญญานาโต (NATO)

อารยธรรมสมัยปัจจุบัน

ที่มารูปภาพ : https://en.wikipedia.org/wiki/NATO

            ในช่วงของปี 1945 - 1991 ได้เกิดสงครามเย็นระหว่างมหาอำนาจที่มีอุดมการณ์ทางเมืองที่แตกต่างกัน และความแตกต่างกันทำให้นโยบายเกิดความขัดแย้ง ซึ่งทั้งสองฝ่าย ได้แก่ สหรัฐอเมริกาฝ่ายสนับสนับประชาธิปไตย (ค่ายตะวันตก) และสหภาพโซเวียด ฝ่ายสนับสนุนระบบคอมมิวนิสต์ (ค่ายตะวันออก) 
            ฝ่ายของประชาธิปไตยมองว่าระบอบคอมมิวนิสต์นั้นเป็นระบอบการปกครองที่กดขี่ จำกัดเสรีภาพ ลดรอนสิทธิของประชาชนจึงพยายามต่อสู้ ขัดขวางฝ่ายคอมมิวนิสต์ ทั้งสองกลุ่มต่อสู้กันเพื่ออุดมการณ์ของตนเองด้วยวิธีการต่างๆ โดยใช้จิตวิทยากระจายอำนาจของตนเองและลดทอนกำลังของอีกฝ่าย หากแต่ว่าไม่มีการสู้รบหรือทำสงครามโดยเปิดเผย องค์การสนธิสัญญานาโต ก็เป็นหนึ่งในองค์การที่เกิดขึ้นจากฝ่ายประชาธิปไตยในช่วงสงครามเย็น เพื่อคานอำนาจกับสหภาพโซเวียต


ที่มารูปภาพ : https://th.wikipedia.org/wiki/เนโท

            องค์การสนธิสัญญานาโต (North Atlantic Treaty Organization: NATOถูกก่อตั้งขึ้นวันที่ 4 เมษายน ค.ศ. 1949 โดยมีสมาชิกก่อตั้ง 12 ประเทศคือ สหรัฐอเมริกา แคนาดา เบลเยียม เดนมาร์ก ฝรั่งเศส ไอซ์แลนด์ อิตาลี ลักเซมเบิร์ก เนเธอร์แลนด์ นอร์เวย์ โปรตุเกส และสหราชอาณาจักร ต่อมาได้มีประเทศอื่นๆมาเข้าร่วมด้วย ได้แก่ กรีซและตรุกีเข้าร่วมในปี 1952 มอลตาเข้าร่วมและได้ยกเลิกสัญญาเมื่อปี 1955 -1979  องค์การมีสำนักงานใหญ่ขององค์การอยู่ที่ กรุงบรัสเซลส์ ประเทศเบลเยียม ปัจจุบันมีสมาชิกทั้งหมด 30 ประเทศ 
            
            การก่อตั้งองค์การสนธิสัญญานาโตมีจุดประสงค์ในการสร้างพันธมิตรให้ความร่วมมือกันระหว่างสมาชิกในด้านการเมือง การทหาร เศรษฐกิจ สังคม และวัฒนธรรม ซึ่งการให้ความร่วมมือเหล่านี้เป็นการต่อต้านอิทธิพลของสหภาพโซเวียดหรือคอมมิวนิสต์ โดยเฉพาะความร่วมมือทางด้านการทหารจากกฏบัตรของอค์กรนาโตกำหนดไว้ว่า หากประเทศสมาชิกถูกรุกรานจากประเทศที่ไม่ได้เป็นสมาชิก ประเทศสมาชิกทั้งหมดจะเข้าร่วมสงครามทันทีตามหลักป้องกันตนเอง ซึ่งเป็นการยึดหลักการที่ว่า "การโจมตีประเทศสมาชิกประเทศหนึ่งประเทศใด  จะถือว่าเป็นการโจมตีประเทศสมาชิกทั้งหมด"

ที่มารูปภาพ : https://www.nationtv.tv/original/378864440


โครงสร้างของนาโต 
            1.ฝ่ายพลเรือน ประกอบไปด้วยคณะมนตรีแอตแลนติกเหนือ ทำหน้าที่รับผิดชอบการตัดสินใจเรื่องต่างๆ ด้วยการตีความสนธิสัญญาและนำไปปฏิบัติ คณะมนตรีฯจะมีการประชุมอย่างน้อยสองครั้งต่อปี สำนักงานเลขาธิการเนโท เป็นสำนักงานใหญ่ทำหน้าที่บริหารงานทั่วไป และวางแผนนโยบาย
            2.ฝ่ายทหาร คณะกรรมาธิการทางทหาร (The Military Committee) ให้คำแนะนำด้านการทหารแก่คณะมนตรีและผู้บัญชาการกองกำลังผสม มีการประชุมอย่างน้อยสองครั้งต่อปีเช่นเดียวกัน ฝ่ายทหารได้แบ่งเขตยุทธศาสตร์ออกเป็น 3 เขตดังนี้
    • เขตยุโรป (The European Command) 
    • เขตแอตแลนติก (The Atlantic Ocean Command)
    • เขตช่องแคบ (The Channel Command)
            ในปัจจุบันองค์การสนธิสัญญานาโตก็ยังคงอยู่โดยมีสมาชิกน้องใหม่เป็นประเทศที่ 31 และ 32 เข้ามาเป็นส่วนหนึ่งของนาโตเมื่อเดือนมิถุนายน ปีพ.ศ. 2565 คือประเทศฟินแลนด์ และสวีเดน โดยสาเหตุสำคัญในการเข้าร่วมนาโตเกิดจากการที่รัสเซียได้โจมตียูเครน และรัสเซียได้มีการเตือนไม่ให้เข้าร่วมอยู่หลายครั้งแต่ก็ไม่สำเร็จ เมื่อเข้าร่วมเป็นสมาชิกกับนาโตแล้วทั้งสองประเทศก็จะได้รับความคุ้มครองจากประเทศสมาชิกตามหลักการ "การโจมตีประเทศสมาชิกประเทศหนึ่งประเทศใด  จะถือว่าเป็นการโจมตีประเทศสมาชิกทั้งหมด"

            นาโตนับว่าเป็นความหวาดระแวงของรัสเซียเนื่องจากเป็นองค์กรที่มีอยู่มาตั้งแต่หลังสงครามโลกที่ 2 ทั้งยังเป็นขั้วตรงข้ามกับรัสเซียหรือสหภาพโซเวียด และเนื่องจากสถานการณ์ปัจจุบันของรัสเซียและยูเครน ซึ่งยูเครนมีแนวโน้มว่าจะเข้าร่วมกับนาโตอีกด้วย จึงทำให้เกิดความหวาดระแวงมากขึ้นไปอีก นับว่าเป็นสถานณ์การณ์ที่ทั่วโลกจะต้องจับตามองอย่างใกล้ชิด


อ้างอิง

  • ฐานเศรษฐกิจดิจิทัล. (2565). คะแนนเสียงท่วมท้น วุฒิสภาสหรัฐฯ รับสวีเดน-ฟินแลนด์ เป็นสมาชิกนาโต. สืบค้น 10 ตุลาคม 2565, จาก https://www.thansettakij.com/world/535231.
  • NATO. (2565). In Wikipedia. https://en.wikipedia.org/wiki/NATO#Military_operations.
  • เนโท. (2565). In Wikipedia. https://th.wikipedia.org/wiki/นาโท
  • ณัชชา ปิงเมือง. (2555). องค์การนาโต (NATO). สืบค้น 10 ตุลาคม 2565, จาก https://sites.google.com/site/worldlorganization/xngkhkar-na-to-nato
  • เกรียงไกร เรืองทรัพย์เดช. (2565). NATO การเกิดขึ้น ดำรงอยู่ และยังไม่สูญสลายไป ก้างชิ้นใหญ่ที่ทำให้รัสเซียไม่ไว้ใจ ยูเครน. สืบค้น 10 ตุลาคม 2565, จาก https://www.nationtv.tv/original/378864440
  • กระทรวงการต่างประเทศ. (2555). องค์การสนธิสัญญาแอตแลนติกเหนือ (North Atlantic Treaty Organisation - NATO). สืบค้น 10 ตุลาคม 2565, จากhttps://www.mfa.go.th/th/content/5d5bcc2715e39c306000a364?cate=5d5bcb4e15e39c3060006872

วันจันทร์ที่ 26 กันยายน พ.ศ. 2565

ศิลปะลัทธิโฟวิสม์ (Fauvism) - อารยธรรมสมัยใหม่

ศิลปะลัทธิโฟวิสม์ (Fauvism)
อารยธรรมสมัยใหม่

        ในอารยธรรมยุคสมัยใหม่ ด้วยความเจริญก้าวหน้าของวิทยาการต่างๆ มีการค้นพบทฤษฎีใหม่ๆ ความก้าวหน้าของสิ่งพิมพ์ ความรู้ถูกบรรจุลงสิ่งพิมพ์และถูกเผยแพร่ได้อย่างรวดเร็วกว่าสมัยก่อน และผู้คนได้ให้ความสำคัญกับความสามารถในตัวบุคคลมากขึ้น            
        ซึ่งมีอิทธิพลมาจากลัทธิเสรีนิยม ที่มีความเชื่อ ยอมรับ และต้องการให้ผู้คนมีเสรีภาพในการแสดงความคิดเห็น ความชอบ และการหาความสุขของแต่ละบุคคล  ทำให้คนในยุคสมัยใหม่กล้าที่จะแสดงความคิดเห็น กล้าแสดงออกในความชอบของตนเอง 
       ผู้คนที่มีความชอบเดียวกันรวมกลุ่มกันเพื่อพูดคุยปรึกษาในสิ่งที่มีความสนใจร่วมกันสร้างลัทธิขึ้นมา จนเกิดเป็นลัทธิต่างๆมากมายในยุคสมัยใหม่ รวมไปทั้ง "ลัทธิโฟวิสม์(Fauvism)" ในวงการศิลปะด้วยเช่นกัน 






                                         ที่มารูปภาพ : https://kku.world/7jr2m


        ศิลปะลัทธิโฟวิสม์(Fauvism) เกิดขึ้นในยุคสมัยใหม่ช่วงต้นๆของคริสตวรรษที่ 20 ประมาณปีค.ศ. 1905 และอยู่ไปจนถึงปีค.ศ. 1910 จากนั้นก็เริ่มหายไป เป็นที่นิยมแค่ในฝรั่งเศส จุดเด่นของโฟวิสม์คือ การใช้สีสันสดใส รุนแรง สนุกสนาน จัดจ้าน มีการตัดเส้นชัดเจน แม้จะใช้สีตัดกันแต่ก็ดูสัมพันธ์กัน ส่งเสริมกันและกัน 

        ลัทธิโฟวิสม์ มีความเชื่อว่าไม่ควรที่จะต้องกังวลว่าภาพเขียนนั้นจะเหมือนสิ่งที่เคยเห็นหรือไม่ ดูตามรู้สึกมากกว่าตาเห็นดีกว่า วาดภาพเขียนแสดงออกตามอสัญชาตญาณ ตามอารมณ์ที่รู้สึกอย่างเต็มที่ นับเป็นการฉีกกฏเกณฑ์เก่าๆที่เคยมีมา ลัทธิโฟวิสม์มีบุคคลสำคัญดังนี้ 

                 อ็องเดร แดแรน                        มอริส เดอ ฟลามิงก์                            อ็องรี มาติส
               (André Derain)                  (Maurice de Vlaminck)                  (Henri Matisse)
 
                    
              ที่มารูปภาพ : https://kku.world/e4y8a                ที่มารูปภาพ : https://kku.world/nqs4g                     ที่มารูปภาพ : https://kku.world/eqa26

        อ็องเดร แดแรน(André Derain) ศิลปินชาวฝรั่งเศส ผู้ร่วมก่อตั้งลัทธิโฟวิสม์กับอ็องรี มาติส (Henri Matisse) เกิดและเสียชีวิตเมื่อ 10 มิถุนายน 1880 - 8 กันยายน 1954 ตัวอย่างผลงาน เช่น  Boats at Collioure (1905), Portrait of Matisse (1905) และ Charing Cross Bridge (1906)

        
  ที่มารูปภาพ :  https://kku.world/joowv         ที่มารูปภาพ : https://kku.world/b5so9           ที่มารูปภาพ : https://kku.world/7y0dx

        มอริส เดอ ฟลามิงก์(Maurice de Vlaminck) จิตรกรชาวฝรั่งเศส เกิดและเสียชีวิตเมื่อ 4 เมษายน 1876 – 11 ตุลาตม 1958 เป็นบุคคลสำคัญร่วมกับอ็องรี มาติส และอ็องเดร แดแรน ตัวอย่างผลงาน เช่น Barges on the Seine(1905) , Le bassin à Chatou(1907) และ Town on the Bank of a Lake(1909)

 
              ที่มารูปภาพ : https://kku.world/hnr5e                 ที่มารูปภาพ : https://kku.world/l6f9d                   ที่มารูปภาพ : https://kku.world/5xfye

        อ็องรี มาติส(Henri Matisse) เป็นจิตรกร ประติมากร และช่างพิมพ์ ชาวฝรั่งเศส เป็นหัวหน้าลัทธิโฟวิสม์ เกิดและเสียชัวิตเมื่อ 31 ธันวาคม 1869 - 3 พฤศจิกายน 1954 ตัวอย่างผลงาน เช่น Portrait of Madame Matisse. The Green Line(1905, )The Dessert: Harmony in Red(1908) และ Dance(1910)


 ที่มารูปภาพ : https://kku.world/7jr2m           ที่มารูปภาพ :  https://kku.world/gqgzu                           ที่มารูปภาพ :  https://kku.world/p3u1o

        ลัทธิโฟวิสม์นับเป็นการวาดภาพที่สร้างความแตกต่างจากกรอบความคิดเดิมๆ เป็นอย่างมาก ในเรื่องของการใช้สีที่จัดจ้าน แสดงอารมณ์ผ่านสีที่ใช้ นำสีที่เป็นขั้วตรงข้ามอย่างสีโทนเย็นกับสีโทนร้อนมาไว้คู่กัน ซึ่งทำให้ผู้คนสนใจตื่นเต้นกับความแปลกใหม่ในงานศิลปะของลัทธิโฟวิสม์ และยังเป็นแรงบันดาลใจที่ทำให้หลายๆ คนอยากที่จะลองและกล้าที่จะทำอะไรใหม่ๆ มากขึ้น


อ้างอิง
  • Phohuk Lover. (2559). ศิลปะแบบโฟวิสม์ (Fauvism Art) หรือ ลัทธิสัตว์ป่า. สืบค้น 26 กันยายน 2565, จาก https://www.facebook.com/media/set/set=a.1151409981587197.1073741886.557879734273561&type=3.
  • hmong. (ม.ป.ป.). André Derain. สืบค้น 26 กันยายน 2565, จาก https://hmong.in.th/wiki/Andr%C3%A9_Derain.
  • hmong. (ม.ป.ป.). มอริซ เดอ วลามิงค์. สืบค้น 26 กันยายน 2565, จาก https://hmong.in.th/wiki/Maurice_de_Vlaminck
  • André Derain. (2565). In Wikipedia. https://en.wikipedia.org/wiki/Andr%C3%A9_ Derain
  • Fauvism. (2565). In Wikipedia. https://en.wikipedia.org/wiki/Fauvism.
  • คติโฟวิสต์. (2565). In Wikipedia. https://th.wikipedia.org/wiki/คติโฟวิสต์.
  • Henri Matisse. (2565). In Wikipedia. https://en.wikipedia.org/wiki/Henri_Matisse

















วันจันทร์ที่ 5 กันยายน พ.ศ. 2565

กาฬโรค (The Black Death)

 กาฬโรค 
(The Black Death)


    กาฬโรค เริ่มต้นเมื่อ ค.ศ.1347 เป็นสิ่งที่คร่าชีวิตของชาวยุโรปไปจำนวนหลายล้านคน ทั้งยังส่งผลต่อศาสนา เศรษฐกิจ และวัฒนธรรมเป็นอย่างมากในยุโรป ซึ่งนับว่าเป็นโรคระบาดที่ร้ายแรงที่สุดในยุคสมัยกลาง 
    การแพร่ของกาฬโรคนั้นรวดเร็วอย่างมากในยุคสมัยกลางด้วยปัจจัยหลายๆ อย่างที่ทำให้ผู้คนไม่สามารถควบคุมการระบาดของกาฬโรคได้ อีกทั้งการศึกษา การแพทย์ และอุปกรณ์ป้องกันในยุคสมัยนั้นยังไม่ก้าวหน้ามากพอจะรักษาหรือป้องกันโรคได้ ทำให้กว่าจะมีการคิดค้นการรักษากาฬโรคนั้นต้องใช้เวลาหลายร้อยปี ในการลองผิดลองถูก เปรียบเทียบกับยุคปัจจุบันที่มีการระบาดของโควิด-19 นั้นการแพทย์และเทคโนโลยีในปัจจุบันใช้เวลาไม่ถึงปีในการคิดวัคซีนขึ้นมาได้
    ซึ่งภายหลังก็ยังคงมีการระบาดซ้ำอยู่เป็นครั้งคราวจนถึงปัจจุบัน
    
            ที่มารูปภาพ : https://www.matichon.co.th/prachachuen/news_1967001

           ต้นกำเนิดของกาฬโรค เชื่อว่ามาจากจีนแพร่ผ่านเส้นทางสายไหมและมาจากหมัดของหนู เมื่อหนูที่ถูกหมัดกัดตายไป ศพของหนูก็กลายเป็นตัวแพร่กระจายของกาฬโรค และหมัดของหนูสามารถกระโดดไปยังสัตว์อื่นๆ หรือกัดคนได้



ที่มารูปภาพ : https://th.wikipedia.org/wikiกาฬมรณะ

            อาการของกาฬโรคที่สังเกตได้ง่ายที่สุดคือผิวบวม มีจุดสีแดงและเปลี่ยนเป็นสีดำตามร่างกายเนื่องจากการที่มีเลือดออกบริเวณใต้ผิวหนัง ปอดบวมตามร่างกาย และเป็นไข้ ซึ่งกาฬโรคสามารถทำให้คนเสียชีวิตได้ ระยะเวลาขึ้นอยู่กับภูมิคุ้มกันโรค และความแข็งแรงร่างกายของแต่ละบุคคล ถ้าร่างกายอ่อนแอก็สามารถตายได้ภายใน 3 วัน ถ้าหากร่างกายแข็งแรงก็สามารถตายได้ภายในหนึ่งสัปดาห์

            การแพร่ระบาดของกาฬโรค ส่วนหนึ่งเริ่มต้นมาจากการที่ชาวมองโกลได้มีทหารที่ตายจากการติดเชื้อและนำศพของคนที่ตายโยนเข้าเมืองท่าด้วยเครื่องยิงหิน โรคระบาดแพร่กระจายเข้าสู่เมืองท่าอย่างรวดเร็ว คนในเมืองต่างหนีตายขึ้นเรือไปยังยุโรป โดยนำโรคติดไปด้วย พร้อมกับพาหะอย่างหนูและคนที่ติดโรคอยู่บนเรือ เมื่อไปถึงทุกคนบนเรือนั้นก็ได้ติดเชื้อตายกันหมดแล้ว การหลบหนีเข้ายุโรปครั้งนี้จึงเป็นการนำกาฬโรคเข้าแพร่กระจายสู่ยุโรป

            หนูเป็นพาหะของกาฬโรคอย่างดี โดยหมัดของหนูสามารถแพร่เชื้อได้ด้วยการกัดคนหรือสัตว์ชนิดต่างๆ อีกทั้งหนูยังสามารถติดไปตามคาราวานของพ่อค้า และเรือบรรทุกสินค้า นอกจากนั้นกาฬโรคยังสามารถติดต่อผ่านลมหายใจได้อีกด้วย ทำให้กาฬโรคแพร่ระบาดได้อย่างรวดเร็ว และยากที่จะควบคุมได้

ผลกระทบของกาฬโรค
  • เศรษฐกิจหยุดชะงัก ขาดแรงงาน เพราะต้องควบคุมโรค
  • งดกิจกรรมทางวัฒนธรรมเพื่อป้องกันการแพร่ระบาด
  • สังคม ผู้คนล้มตายเป็นจำนวนมาก ประชาชนอดอยาก 
  • ศาสนจักรเสื่อมอำนาจ
    หมอในยุคสมัยกลางสวมชุดคลุมหน้ากากอีกาใช้ไม้ยาวช่วยในการรักษา เนื่องจากไม่สามารถสัมผัสผู้ป่วยได้ ช่วงนั้นการแพทย์ยังไม่ก้าวหน้ามากนักการรักษาจึงเป็นการลองผิดลองถูก ยกตัวอย่างเช่น
  • อาบน้ำปัสสาวะ
  • นำอุจจาระมาทาตัว
  • วางซากสัตว์ในบ้าน
  • นำปลิงมาดูดเลือด
  • ดื่มทองที่ถูกทำให้เหลว และผงมรกต
  • ใช้เครื่องหอม สมุนไพร ดับกลิ่นคนตาย
         ถึงแม้ว่าในปัจจุบันจะมีวิธีการรักษาให้หายได้แล้ว แต่ในกาฬโรคก็ยังคงมีอยู่ แต่ก็ไม่ร้ายแรงเท่าในยุคสมัยกลางแล้วเนื่องจากมีมาตรการในการรับมือ การเฝ้าระวัง และการแพทย์ที่ดีมากขึ้น ซึ่งสิ่งที่สำคัญที่สุดคือการศึกษา เทคโนโลยีที่พัฒนาไปอย่างรวดเร็ว รวมไปถึงการที่มนุษย์เรียนรู้ที่จะประวัติศาสตร์ ศึกษาสิ่งที่เคยเกิดขึ้นมาก่อนและนำมาประยุกต์ใช้ในการรับมือกับการระบาดครั้งต่อๆไป ทำให้มนุษย์สามารถรับมือกับโรคที่ร้ายแรงได้ดีมากยิ่งขึ้น

อ้างอิง
  • Muzika. (2563). กำเนิดกาฬโรค The Black Death โรคระบาดที่ร้ายแรงที่สุดของมนุษยชาติ. สืบค้น 5 กันยายน 2565. จาก https://travel.trueid.net/detail/6Dpxv0vqBGkD.
  • ALLWELLHEALTHCARE. (2563). กาฬโรค หรือ Black death โรคระบาดร้ายแรงในอดีตที่ต้องเฝ้าระวัง!. สืบค้น 5 กันยายน 2565. จาก https://allwellhealthcare.com/black-death/.
  • Matichon. (2563). สุวรรณภูมิในอาเซียน : BLACK DEATH ความตายสีดำ ‘โรคห่า’ กาฬโรค จากจีนถึงไทย กำเนิดอยุธยา โยงประวัติศาสตร์โลก. สืบค้น 5 กันยายน 2565. https://www.matichon.co.th/prachachuen/news_1967001
  • กาฬมรณะ. (2564‎). In Wikipedia. https://th.wikipedia.org/wiki/กาฬมรณะ.

วันอาทิตย์ที่ 10 กรกฎาคม พ.ศ. 2565

สวนลอยบาบิโลน จากอารยธรรมเมโสโปเตเมีย

สวนลอยบาบิโลน



           หลายคนคงเคยได้ยินชื่อสวนลอยบาบิโลนของอารยธรรมเมโสโปเตเมีย หนึ่งในเจ็ดสิ่งมหัศจรรย์ของโลก ซึ่งนับว่าเป็นสิ่งก่อสร้างที่น่าสนใจเป็นอย่างมากเนื่องจากมีการนำระบบชลประทานมาใช้ ถ้าหากมองจากปัจจุบันอาจจะดูไม่น่าแปลกใจแต่อย่างใด แต่เมื่อมันถูกก่อสร้างในยุคสมัยโบราณที่ไม่มีเทคโนโลยีใดๆ มาช่วยเลย ทำให้มันกลายเป็นสิ่งที่น่าสนใจว่าคนในยุคสมัยทำอย่างไรจึงสร้างสิ่งนี้ขึ้นมาได้ และคิดค้นสิ่งนี้ขึ้นมาได้อย่างไร เริ่มจากข้อมูลทั่วไปของสวนลอยบาบิโลนก่อน

             สวนลอยแห่งบาบิโลนถูกสร้างโดยพระเจ้าเนบูคัดเนสซาร์ที่ 2 หรือ กษัตริย์คาลเดียน โดยกษัตริย์คาลเดียนสร้างสวนลอยแห่งบาบิโลนขึ้นมาเพื่อที่จะมอบให้พระมเหสีของตนชื่อว่า "พระนางอเมทีส" อันเนื่องมาจากพระนางอเมทีสเกิดคิดถึงบ้านเกิดของตนเอง คือกรุงเมเดีย เมืองตะวันตกทางตอนเหนือของประเทศอิหร่านในปัจจุบัน ซึ่งที่เมืองแห่งนั้นเต็มไปด้วยสวน และพืชนานาพรรณ กษัตริย์คาลเดียนจึงสร้างสวนลอยแห่งบาบิโลนให้มีพืชนานาพรรณ ที่เป็นดั่งวิมานท่ามกลางทะเลทราย ในช่วงประมาณ 621 - 539 ก่อนคริสตศักราช ในอาณาจักรคาลเดียน หรือ บาบิโลเนียใหม่ สถานที่ตั้งอยู่ที่ริมแม่น้ำยูเฟรติส ประเทศอิรักในปัจจุบัน
            
            ลักษณะโดยรวมของสวนลอยบาบิโลนเป็นอาคารสลับซับซ้อนหลายชั้น รูปร่างคล้าย ซิกกูรัต ระเบียงแต่ละชั้นประดับด้วยพืชพรรณนานาชนิด เช่น ไม้ประดับ ไม้ดอก ไม้ยืนพุ่ม
                                        


            ระบบชลประทานถูกสร้างขึ้นเนื่องจากสวนลอยนั้นมีต้นไม้และสวนอยู่มากมาย และต้นไม่อาจขาดน้ำได้จึงต้องนำระบบชลประมานมาใช้ น้ำถูกนำมาจากแม่น้ำยูเฟรติสที่อยู่ข้างๆ ลำเลียงโดยกังหันน้ำมายังบนสวนลอย นำไปเก็บไว้ในอ่างเก็บน้ำ และแบ่งใช้สำหรับหล่อเลี้ยงพืชพรรณต่างๆ ทำให้พืชพรรณเขียวชะอุ่มตลอดเวลา และบางส่วนก็ถูกปล่อยให้ไหลลงสู่เบื้องล่างเป็นน้ำตกสวยงาม

            เนื่องจากสวนลอยแห่งนี้ไม่มีซากอารยธรรมใดๆ หลงเหลืออยู่เลย จึงทำให้หลายคนเชื่อว่ามันอาจจะไม่มีอยู่จริงตั้งแต่แรก อาจจะเป็นจินตนาการของนักเขียนชาวกรีกและโรมันก็เป็นได้ แต่บางคนก็คิดว่ามันอาจจะถูกสร้างที่อื่นก็ได้ ทุกวันนี้อาจจะยังไม่มีหลักฐานไม่แน่ชัดในการค้นหาความจริงเกี่ยวกับสวนลอยบาบิโลนแห่งนี้ แต่ไม่แน่ว่าในอนาคตอาจจะมีคนสามารถค้นหาร่องรอยของอารยธรรมเจอ หรือมีเทคโนโลยีที่จะช่วยในการค้นหาหลักฐานหรือความจริงได้ก็เป็นได้


อ้างอิง

  • สวนลอยบาบิโลน. (2565). In Wikipedia. https://th.wikipedia.org/wiki/สวนลอยบาบิโลน/.
  • Worakan J. (2564). อาคาร ต้นไม้ ระบบชลประทาน : ‘สวนลอยบาบิโลน’ สถาปัตยกรรมโบราณที่ถูกตั้งคำถามถึงการมีอยู่สืบค้น 11 กรกฎาคม 2565, จาก https://thematter.co/social/hanging-gardens-of-babylon/132574.
  • อลิส. (2565). สวนลอยบาบิโลน ที่อุดมไปด้วยพืชนานาพันธุ์ คือหนึ่งในสิ่งมหัศจรรย์ของโลก. สืบค้น 11 กรกฎาคม 2565, จาก https://www.stanfordterraceinn.com/สวนลอยบาบิโลน/.
  • สิรภพ สมฤทธิ์. (2558). สวนลอยแห่งกรุงบาบิโลน(Hanging Gardens of Babylon). สืบค้น 26 กันยายน 2565, จาก https://sites.google.com/a/samakkhi.ac.th/gilgamesh-of-babylon/swn-lxy-haeng-krung-ba-bi-lon-hanging-gardens-of-babylon.
           
        

องค์การสนธิสัญานาโต (NATO) - อารยธรรมสมัยปัจจุบัน

องค์การสนธิสัญญานาโต (NATO) อารยธรรมสมัยปัจจุบัน ที่มารูปภาพ :  https://en.wikipedia.org/wiki/NATO               ในช่วงของปี 1945 - 1991 ได้...